วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552



ประโยชน์ของผักบุ้ง

ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น คนที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลย เพราะว่าผักบุ้งนั้นมีคุณสมบัติลดความดันโลหิต และถ้าคนที่มีความดันโลหิตต่ำยังรับประทานผักบุ้งเข้าไปอีกก็จะยิ่งต่ำลงไปอีก ก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริว ร่างกายอ่อนแอลงได้ ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลยจะดีที่สุด ผักบุ้งไทยโดยเฉพาะชนิดต้นขาวจะมีวิตามินซีสูงกว่าชนิดอื่น ๆ ช่วยบำรุงรักษาเหงือก ฟัน ให้แข็งแรง ช่วยทำให้ผิวสวย เลือดดี และเพิ่มความต้านทานโรค ไม่เกิดอาการ แพ้ ต่าง ๆ ง่าย เคล็ดลับอยู่ที่ต้องกินสด ๆ คุณค่าทางวิตามินจะได้ไม่สูญเสียไป ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม ค่ะและมีสารต้านฮีสตามีน นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมทั้งมีเส้นใย อาหารที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผักบุ้งยังมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน สรรพคุณของผักบุ้งไทยต้นขาวสรรพคุณของผักบุ้งไทยต้นขาวและวิธีการใช้ ส่วนที่ใช้


ประโยชน์ของผักบุ้งไทยต้นขาวคือ ดอก ใบ ทั้งต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน ต้นสดใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลืองทั้งต้น ใช้แก้โรคประสาท ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระราก ใช้แก้ไอเรื้อรังและแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น